DeFi คืออะไร? ระบบดังกล่าวทำงานอย่างไร?
Description
DeFi (Decentralized Finance หรือการเงินแบบกระจายศูนย์) คือระบบการเงินที่ได้รับการรองรับจากเทคโนโลยีบล็อกเชนแบบกระจายศูนย์ที่ปลอดภัย คุณสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Bitcoin และบล็อกเชนได้ที่ exex.com blog
DeFi คืออะไร?
ประวัติความเป็นมาของการเงินแบบกระจายศูนย์มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมคริปโตเคอร์เรนซี ในทุกปี คริปโตเคอร์เรนซีจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นจนเกิดความคิดเห็นที่ว่าประชากรหลายพันล้านคนจะใช้คริปโตเคอร์เรนซีภายในอีกสองสามทศวรรษข้างหน้า
Decentralized Finance (DeFi) หรือที่เรียกกันว่าการเงินแบบกระจายศูนย์เป็นเครื่องมือทางการเงินและแอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน วัตถุประสงค์หลักของการเงินแบบกระจายศูนย์ก็คือการเป็นตัวเลือกของการเงินแบบรวมศูนย์ซึ่งเป็นระบบการธนาคารแบบดั้งเดิม
DeFi คืออะไรจากมุมมองของโครงสร้างการธนาคารที่มีอยู่? สำหรับโครงสร้างการธนาคารที่มีอยู่นั้น DeFi คือคู่แข่งโดยตรงเนื่องจาก DeFi ช่วยให้ผู้ใช้ทุกคนซึ่งไม่สามารถใช้บริการของธนาคารสามารถทำเช่นนั้นได้โดยไม่ต้องพึ่งธนาคาร
การเงินแบบรวมศูนย์กับการเงินแบบกระจายศูนย์
การเงินแบบรวมศูนย์ (Centralized Finance - CeFi) รวมถึงแพลตฟอร์มและธนาคารกลางของรัฐซึ่งได้รับการจัดการแบบรวมศูนย์จะมอบโอกาสให้แก่ลูกค้าในการได้รับเงินกู้และการลงทุนในหุ้นและพันธบัตรรวมถึงควบคุมกระบวนการออกสกุลเงิน การเสนอข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับผู้ใช้ และการจำกัดการเข้าถึงเครื่องมือทางการเงิน
การจัดการการเงินแบบรวมศูนย์จะควบคุมเงินของลูกค้าซึ่งถือเป็นข้อเสียเปรียบหลัก อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มการเงินแบบรวมศูนย์จะมอบสินเชื่อที่มากกว่า และทำงานด้วยได้ง่ายกว่า
ในทางกลับกัน การเงินแบบกระจายศูนย์เองก็มอบเงินกู้ซึ่งเป็นเงินกู้ในระบบนิเวศของตัวเอง ลูกค้าแต่ละรายจะมีสิทธิ์ในการมีปฏิสัมพันธ์และการจัดการโดยใช้ dApp แพลตฟอร์มแบบกระจายศูนย์ซึ่งไม่จัดเก็บข้อมูลของลูกค้าจะจัดการการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์และเงินกู้โดยที่จะไม่ใช้กระบวนการยืนยันตัวตนในตอนนี้
คำถามที่อาจจะเกิดขึ้นก็คือ คริปโต DeFi ในระบบนิเวศนี้คืออะไร? นี่คือเหรียญดิจิทัลและโทเคนที่มอบให้แก่ผู้ใช้โดยแพลตฟอร์มแบบกระจายศูนย์ เหรียญซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดได้แก่ UNI, AVAX ฯลฯ ข้อได้เปรียบหลักของการเงินแบบกระจายศูนย์ก็คือ การซื้อและการขายที่สามารถทำได้โดยไม่ต้องมีตัวกลางที่อาจเข้ามาแทรกแซงกระบวนการ
DeFi ในคริปโตเคอร์เรนซีคืออะไร: DeFi ทำงานอย่างไร?
การเงินแบบกระจายศูนย์จะใช้แอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์หรือโปรโตคอลแบบกระจายศูนย์ โปรโตคอล DeFi คืออะไร?
โปรโตคอล DeFi เป็นเครือข่ายที่ใช้วิธีการของการเข้ารหัส บล็อกเชน และฉันทามติ เครือข่ายดังกล่าวมีโครงสร้างจากสัญญาอัจฉริยะ ผู้สร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์จะใช้โปรโตคอลที่มีรหัสโอเพ่นซอร์สสำหรับการเทรดบนแพลตฟอร์มต่างๆ
หากลูกค้าต้องการเงินกู้ ลูกค้าจะต้องใส่เหรียญเป็นเงินฝาก เมื่อเงินกู้ดังกล่าวหมดอายุลง ผู้กู้เงินจะต้องคืนเหรียญที่ยืมไปพร้อม % ที่กำหนด ไม่มีตัวกลางในการทำธุรกรรมในขณะที่สัญญาอัจฉริยะคือสิ่งที่จะดำเนินการควบคุม
ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของ DeFi
การเงินแบบกระจายศูนย์มีข้อได้เปรียบดังต่อไปนี้:
- โปร่งใส
- กระจายศูนย์
- ข้ามพรมแดน
- การทำงานร่วมกัน
ข้อได้เปรียบหลักของ DeFi ก็คือการกระจายศูนย์ คำถามก็คือ วอลเล็ตของ DeFi ได้รับการกำกับดูแลหรือไม่ คำตอบคือไม่
ไม่มีโครงสร้างการควบคุมแบบรวมศูนย์ สัญญาอัจฉริยะจะรับผิดชอบทุกอย่าง เมื่อทำสัญญาอัจฉริยะและใช้สัญญาอัจฉริยะ แอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์จะทำงานโดยปราศจากการแทรกแซงหรือมีการแทรกแซงน้อยมาก
รหัสต้นฉบับของแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์จะเปิดกว้างสำหรับการตรวจสอบ ผู้ใช้แต่ละรายสามารถอ่านข้อมูลของสัญญาและตรวจหาข้อผิดพลาดได้โดยที่การทำธุรกรรมจะใช้นามแฝงและไม่เปิดเผยตัวตน
แอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์แทบจะทั้งหมดเป็นแบบข้ามพรมแดน นั่นก็หมายความว่าลูกค้าทุกคนสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันดังกล่าวได้
ข้อได้เปรียบอื่นๆ ของ DeFi ได้แก่ความครอบคลุม ผู้ใช้แต่ละรายจึงสามารถสร้างและใช้แอปพลิเคชันต่างๆ ได้ นอกจากนี้ DeFi ยังมีความสามารถในการทำงานร่วมกัน นั่นก็หมายความว่า มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ๆ โดยการผสมผสานผลิตภัณฑ์แบบกระจายศูนย์ต่างๆ จากแพลตฟอร์ม
ในขณะเดียวกัน การเงินแบบกระจายศูนย์เองก็มีข้อเสียเปรียบบางอย่างเช่นกัน
เงินกู้ของการเงินแบบกระจายศูนย์จะมีขนาดน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการเงินแบบดั้งเดิม หากราคาของสินทรัพย์ตกลงกะทันหันเนื่องจากความผันผวน ก็อาจจะทำให้แอปพลิเคชันพังลงได้
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่สัญญาอัจฉริยะอาจจะถูกแฮกโดยอาชญากรไซเบอร์และกลุ่มแฮกเกอร์มืออาชีพเพราะสัญญาอัจฉริยะมักได้รับการเขียนและมีข้อผิดพลาดในส่วนของรหัส ทั้งหมดนี้คือข้อด้อยหลักๆ ของ DeFi
อนาคตของ DeFi
ในปัจจุบันปริมาณการเทรดบนแพลตฟอร์มแบบกระจายศูนย์เติบโตขึ้นและอยู่ที่ $62 พันล้าน จำนวนการทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มแบบกระจายศูนย์จำนวนมากเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวเนื่องจากการล้มละลายของแพลตฟอร์มคริปโตเคอร์เรนซี FTX จากข้อมูลของพอร์ทัล Nansen จะเห็นได้ว่า โปรโตคอลต่างๆ ได้บันทึกการเพิ่มขึ้นจำนวนมากของการทำกิจกรรมของลูกค้า
แม้จะมีปัญหาเรื่องแพลตฟอร์มของ FTX แต่การเงินแบบกระจายศูนย์ยังคงได้รับแรงผลักดันใหม่ๆ สำหรับการพัฒนา เราสามารถพูดได้ว่า DeFi 2.0 ซึ่งเป็นเจเนอเรชันที่สองของการเงินแบบกระจายศูนย์จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เนื่องจากมอบการใช้งานเงินทุนที่ทำกำไรมากกว่า รวมถึงมีกลไกที่ช่วยทำให้สภาพคล่องเกิดความเสถียร
การเงินแบบกระจายศูนย์ได้กลายมาเป็นหนึ่งในเสาหลักของอุตสาหกรรมคริปโตเคอร์เรนซีและเศรษฐกิจดิจิทัลโดยรวม แอปพลิเคชัน DeFi ใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากหน่วยงานกำกับดูแลเข้มงวดกับแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโลกคริปโต DeFi อยู่ในตำแหน่งที่สามารถดึงดูดความสนใจจากลูกค้ามากขึ้นทั้งในระยะสั้นจนถึงระยะกลาง
มูลค่าทั้งหมดของ DeFi อยู่ที่เท่าใด?
ในเดือนพฤศจิกายน 2021 มูลค่าทั้งหมด (TVL) ของ DeFi มีมากกว่า $253 พันล้าน ในเดือนกุมภาพันธ์ของปีนี้ มูลค่าอยู่ที่ $178 พันล้าน
หลังจากปิดตัวของแพลตฟอร์ม FTX จำนวนของการทำธุรกรรมในการเงินแบบกระจายศูนย์ได้เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัวตามที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น และเมื่อสิ้นสุดปีนี้TVL น่าจะเกินตัวเลขที่ระบุไว้
การเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) ในประเทศไทย
การเงินแบบกระจายศูนย์มอบโอกาสที่ดีเยี่ยมสำหรับการพัฒนาคริปโตเคอร์เรนซีในประเทศไทย นี่คือระบบที่ได้รับการพัฒนาแล้วของการหมุนเวียนอิสระของคริปโตเคอร์เรนซีซึ่งช่วยให้เราเข้าใจอุตสาหกรรมและสามารถใช้งานโดยปราศจากความกลัวหรือคำข้อจำกัดในหลายทาง การเงินแบบกระจายศูนย์จะยังคงมีความสำคัญต่อคนไทยในส่วนของการจัดการกับเงินและการได้รับประโยชน์จาก DeFi ในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้:
- ความโปร่งใสของแอปพลิเคชันการเงินแบบกระจายศูนย์ ความสามารถในการเข้าถึง และการตรวจสอบที่ซื่อสัตย์
- การใช้ DeFi ในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์สำหรับโปรเจ็กต์ การสร้างโทเคนของธุรกิจและบริการในประเทศไทย
- การกระจายศูนย์เป็นความสามารถในการธุรกรรมระหว่างผู้ใช้ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ของผู้เข้าร่วมในจังหวัดต่างๆ เช่น เชียงราย กรุงเทพฯ และภูเก็ต
- การไม่พึ่งพาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ การสร้างกระบวนการต่างๆ ตามการจัดการโดยอัตโนมัติของ สัญญาอัจฉริยะ
บทสรุป
กล่าวโดยสรุปก็คือ การเงินแบบกระจายศูนย์ช่วยให้ผู้ใช้ทุกคนได้รับประโยชน์จากบริการทางการเงิน ทุกคนสามารถสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ของตัวเองได้ คุณไม่จำเป็นต้องมีความรู้ที่เฉพาะเจาะจงแต่อย่างใดในการทำความเข้าใจโครงสร้างของ DeFi คุณสามารถพบ DeFi ได้ในทรัพยากรการศึกษาจำนวนมาก และคุณสามารถพบหัวข้อต่างๆ เกี่ยวกับการเงินแบบกระจายศูนย์ได้เช่นกัน
ในปัจจุบัน DeFi ได้กลายมาเป็นที่ต้องการมากขึ้นในตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการปิดตัวแพลตฟอร์ม FTX เราคาดหวังว่าจะได้เห็นตลาดแบบกระจายศูนย์ DeFi 2.0 ซึ่งมอบบริการทางการเงินที่หลากหลายให้แก่ลูกค้ามากขึ้นในระยะสั้นถึงระยะกลาง