DeFi 2.0 คืออะไร? ทุกเรื่องที่คุณจำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับทิศทางใหม่
Description
DeFi 2.0 เป็นเจเนอเรชันใหม่ของการใช้งานบล็อกเชนซึ่งมอบการใช้งานเงินทุนที่มีประสิทธิภาพ ความเสถียรและกลไกของสภาพคล่องรวมถึงแรงจูงใจผู้ใช้ที่ดีกว่า
DeFi 2.0 คืออะไรในคริปโต?
คุณเคยได้ยินคำว่า DeFi 2.0 มาบ้างไหม? นี่เป็นหนึ่งในแนวโน้มล่าสุดในการปรับปรุงการเงินแบบกระจายศูนย์โดยการกำจัดข้อจำกัดทางเทคโนโลยีและข้อจำกัดของผู้ใช้ของโมเดล DeFi 1.0 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน DeFi 2.0 ได้รับการให้บริการโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงบริการ DeFi สำหรับผู้เข้าร่วมทั้งหมดในระบบนิเวศของคริปโต ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า DeFi 2.0 เป็นวิธีการที่มุ่งเน้นการแก้ไขข้อบกพร่องของการเงินแบบกระจายศูนย์ที่พัฒนาขึ้นในยุคแรก ตัวอย่างเช่น คุณสามารถเปรียบเทียบการเกิดขึ้นของ Bitcoin (หรือก็คือ DeFi 1.0) และ Ethereum กับตัวเลือกของสัญญาอัจฉริยะ (หรือก็คือ DeFi 2.0) หรือบล็อกเชนใหม่ที่รวดเร็วขึ่นและมีความสามารถในการปรับขนาดมากขึ้น (เช่น Solana, BSC และ TRON) ยังมีคำตอบอะไรอีกสำหรับคำถามที่ว่า DeFi 2 คืออะไร? DeFi 2 คือซีรีส์ของบริการที่ได้รับการปรับปรุงซึ่งมุ่งเน้นในการแก้ปัญหาต่างๆ ตั้งแต่การรวมศูนย์ ความปลอดภัย ความเร็ว และความสามารถในการปรับขนาด ไปจนถึงการกระจายตัวของสภาพคล่องของตลาดคริปโต
ตัวอย่างเช่น ในปัจจุบัน โปรโตคอล DeFi2.0 จะมอบการรับประกันสำหรับผู้ให้บริการสภาพคล่องเพื่อป้องกันการสูญเสียเป็นระยะ เรื่องดังกล่าวจะผลกระทบในเชิงบวกต่อชื่อเสียงของ DeFi รวมถึงดึงดูดการลงทุนและผู้ใช้เพิ่มเติม ซึ่งสุดท้ายแล้วจะสะท้อนให้เห็นตลาดทั้งหมดในเชิงบวกสำหรับโปรเจ็กต์คริปโตในประเทศไทย
นอกจากนี้ DeFi 2.0 ยังเป็นไปตามข้อกำหนดใหม่ด้านกฎระเบียบ (การรู้จักลูกค้าของคุณและการตรวจสอบการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินสำหรับผู้ที่อยู่ในประเทศไทย) ตัวอย่างของการปรับปรุงที่มีศักยภาพที่ DeFi 2.0 สามารถทำได้ก็คือการรับประกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นซ้ำซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ผู้ให้บริการสภาพคล่องในภาคส่วน DeFi 1.0 ต้องรับมืออยู่บ่อยครั้งมาก โซลูชันนี้สามารถดึงดูดนักลงทุนได้มากขึ้นและมอบประโยชน์ให้แก่ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดรวมถึงโลกทั้งใบของบริการแบบกระจายศูนย์ของ DeFi
ประวัติของแพลตฟอร์ม DeFi 2.0 เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว กล่าวคือ ช่วงเวลาที่คำว่า DeFi 2.0 เริ่มเป็นที่แพร่หลาย เราสามารถพูดได้ว่า หนึ่งในโปรเจ็กต์แรกๆ ที่ตระหนักถึงวิวัฒนาการดังกล่าวคือแพลตฟอร์ม Olympus DAO (บนเครือข่ายบล็อกเชน Ethereum) แพลตฟอร์มดังกล่าวมีทุนสำรอง และใช้เหรียญ DeFi 2.0 ในการเติมเงินทุนหลังการขาย
โปรเจ็กต์ DeFi 2.0 ในช่วงแรกยังรวมถึง Abracadabra Money (SPELL) ซึ่งในปัจจุบันทำงานบนบล็อกเชนต่างๆ รวมถึง BNB Smart Chain โปรโตคอลดังกล่าวจะแปลงคริปโตเคอร์เรนซีให้เป็น Stablecoin Magic นอกจากนี้ ยังมีตัวแทน DeFi 2.0 อื่นๆ ในตลาดคริปโตเคอร์เรนซีซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับหัวข้อของแพลตฟอร์มต่างๆ
การวิเคราะห์อัจฉริยะของ DeFi yoy Binance แสดงให้เห็นว่าจำนวนของการพัฒนาใหม่ๆ ในเครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่บล็อกเชนนี้กำลังจะกลายเป็นหนึ่งในความต้องการที่สตาร์ทอัพ DeFi เลือกที่จะนำมาปรับใช้
อย่างไรก็ตาม DeFi 2.0 ยังคงต้องเผชิญกับข้อจำกัดหลายประการที่เฉพาะเจาะจงเสำหรับคริปโตเคอร์เรนซี ข้อจำกัดดังกล่าวได้แก่ความสามารถในการปรับขนาดที่จำกัด ความต้องการออราเคิลคุณภาพสูงและความแม่นยำของผู้ให้บริการข้อมูล ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเนื่องจากผู้ใช้ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี และข้อจำกัดด้านสภาพคล่องที่ลดประสิทธิภาพของการใช้เงินทุน
สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ แม้ว่าจะมีการตรวจประเมินความปลอดภัยและการปรับปรุงคุณลักษณะของ DeFi อย่างต่อเนื่อง แต่ความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยกลับยังคงเป็นสิ่งที่ผู้ใช้จำนวนมากรู้สึกกังวลใจอยู่นั่นเอง
อะไรคือข้อจำกัดของ DeFi 2.0 สำหรับผู้ใช้และโปรเจ็กต์?
อุตสาหกรรมการเงินแบบกระจายศูนย์ DeFi 2.0 มีข้อจำกัดหลายประการที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว เราสามารถพูดได้ว่า ข้อจำกัดดังกล่าวเป็นปัญหาทั่วไปที่พบได้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้บล็อกเชนทั้งหมด
ปัญหาแรกและเป็นปัญหาที่รุนแรงมากที่สุดก็คือความสามารถ ในการปรับขนาด (Scalability): บริการ DeFi ที่สร้างขึ้นบนเครือข่ายบล็อกเชนซึ่งมีทราฟฟิกและเดิมพันจำนวนมากอาจทำงานช้า และต้องใช้เงินจำนวนมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้แต่งานง่ายๆ ก็จะต้องใช้เวลาและทรัพยากรเงินจำนวนมากจากผู้พัฒนาในประเทศไทย
ปัญหาที่สองคือการจัดหาข้อมูลที่มีคุณภาพและแม่นยำ ผู้รับเหมาและออราเคิลที่เป็นบุคคลภายนอกมักจะทำหน้าที่นี้ สำหรับบริการที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก ข้อกำหนดสำหรับข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับสถานะของตลาดจากแหล่งข้อมูลของบุคคลภายนอกจะเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำหรับการทำงานตามปกติ
การรวมศูนย์ (Centralization) ของการจัดการและการตัดสินใจสำคัญ: แม้ว่า DeFi จะเริ่มมีการกระจายศูนย์มากขึ้น แต่แพลตฟอร์มจำนวนมากยังคงต้องใช้หลักการการจัดการรวมถึงการจัดสรรความรับผิดชอบที่เหมาะสมใน DAO
ความปลอดภัย (Security): ลูกค้าจำนวนมากในประเทศไทยไม่ได้เข้าใจถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ DeFi อย่างถ่องแท้ และวางเงินของตัวเองในสัญญาอัจฉริยะโดยไม่ทราบเลยว่า เงินดังกล่าวจะปลอดภัยหรือไม่ แม้ว่าจะมีการตรวจประเมินความปลอดภัย แต่การตรวจประเมินดังกล่าวมีประสิทธิภาพน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไปเมื่อมีการใช้การปรับปรุงต่างๆ นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องปกติสำหรับทีมพัฒนาที่จะไม่ปล่อยการปรับปรุงออกมาเนื่องจากทีมพัฒนาดังกล่าวไม่มีทรัพยากรในการจะทำเช่นนั้น หรือคิดไปเองว่าโปรเจ็กต์ของตัวเองปลอดภัยอยู่แล้ว
สภาพคล่อง (Liquidity): ปัญหาหลักของเรื่องนี้ก็คือช่องว่างของสภาพคล่อง เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากการจัดวางพูลสภาพคล่องและตลาดที่แตกต่างกันระหว่างบล็อกเชนกับแพลตฟอร์ม บ่อยครั้งที่สินทรัพย์ที่วางในพูลสภาพคล่องมักจะไม่ได้รับการใช้งานในโปรเจ็กต์อื่นๆ จนทำให้ผลตอบแทนจากเงินทุนลดลง
ตัวเลือกสำหรับการใช้ DeFi 2.0 ในแผนการโดยรวมของอุตสาหกรรมคริปโตมีอะไรบ้าง?
DeFi2.0 ให้อะไรที่มากกว่าบริการอื่น บริการซึ่งเป็นที่ต้องการนี้ช่วยให้เกิดการพัฒนาบล็อกเชนที่รองรับสัญญาอัจฉริยะรวมถึง Ethereum, Stellar, Binance Smart Chain, TRON, Solana ฯลฯ
ตัวอย่างของการใช้งาน DeFi 2.0 ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง?
การปลดล็อกมูลค่าของกองทุนรักษาเสถียรภาพ: ใน DeFi 1.0 นั้น การเดิมพันโทเคน LP ด้วยการทำฟาร์มคริปโต (Yield Farm) เป็นวิธีหลักในการเพิ่มผลกำไร อย่างไรก็ตาม DeFi 2.0 ไปได้ไกลกว่านั้นเนื่องจากใช้โทเคน LP ดังกล่าวเป็นหลักประกันสำหรับโอกาสต่างๆ เช่น การให้ยืมคริปโตเคอร์เรนซี การขุดเหมืองโทเคน และการทำกำไรอย่างต่อเนื่อง
การประกันแบบบังคับสำหรับสัญญาอัจฉริยะ: เนื่องจากการตรวจสอบสัญญาอัจฉริยะจำเป็นต้องใช้ทั้งทรัพยากรทางการเงินและทรัพยากรบุคคลจำนวนมาก โปรเจ็กต์ DeFi1 จึงไม่ได้รับการดำเนินการดังกล่าวเสมอไปในขณะที่ DeFi 2.0 สามารถปรับเปลี่ยนได้มากขึ้นในเรื่องนี้ ทำให้นักลงทุนสามารถเป็นเจ้าของการประกัน DeFi สำหรับสัญญาอัจฉริยะที่เฉพาะเจาะจง เช่น ตัวเพิ่มประสิทธิภาพผลตอบแทน เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียเงินฝาก
การประกันการสูญเสียที่ผันผวน: ในบางครั้งการขุดสภาพคล่องจะส่งผลให้เกิดการสูญเสียที่ผันผวนได้เมื่ออัตราส่วนมูลค่าของสินทรัพย์สองรายการเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดการสูญเสียทางการเงิน ในปัจจุบัน โปรโตคอล DeFi 2.0 ได้มอบวิธีการในการลดความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนประกันที่เกิดขึ้นจากค่าธรรมเนียมที่ได้รับจาก LP แบบทางเดียว
สินเชื่อตัวเอง (Self-loan): นี่คือข้อเสนอสุดพิเศษของระบบเงินกู้เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการชำระบัญชี
ใครคือผู้ควบคุม DeFi 2.0?
คำถามที่ว่าใครคือผู้ควบคุมการเงินแบบกระจายศูนย์เป็นคำถามยอดนิยมในฟอรัมคริปโตเคอร์เรนซี และคำตอบของคำถามนี้ก็คือ ครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว MakerDAO ได้แนะนำมาตรฐานนี้โดยการเสนอสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงให้แก่ชุมชน ดูเหมือนว่าการตัดสินใจดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องสำหรับทุกคน บริการจำนวนมากจึงได้ดำเนินการตามมาตรฐานดังกล่าวโดยการอนุญาตให้ผู้ใช้ลงคะแนนเสียงและจัดการกับการตัดสินใจของโปรโตคอล โทเคนจากบางโปรเจ็กต์ทำหน้าที่เป็นโทเคนควบคุมโดยการมอบการตัดสินใจสำคัญให้แก่ผู้ถือโทเคน เมื่อเกิด DeFi 2.0 ขึ้นทำให้มีแนวโน้มว่าจะมีการกระจายศูนย์มากขึ้นรวมถึงการโอนการตัดสินใจเรื่องการควบคุมให้แก่ชุมชน อีกแนวโน้มหนึ่งที่พึงสังเกตก็คือ หน่วยงานกำกับดูแลในประเทศไทยมีความสนใจในอุตสาหกรรม DeFi มากขึ้น บริษัทและสตาร์ทอัพทั้งหมดในภาคส่วนการเงินแบบกระจายศูนย์เองก็จะต้องพิจารณาในเรื่องนี้ ทั้งนี้ มีรายงานเกี่ยวกับการปรึกษาระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในอีกสองสามปีข้างหน้า หน่วยงานกำกับดูแลอาจต้องพยายามกำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับ DeFi 2.0 เหมือนกับที่เคยกำหนดข้อจำกัดสำหรับการแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซี ในกรณีดังกล่าว ผู้พัฒนาเจอเนเรชันที่สองของการเงินแบบกระจายศูนย์จะต้องปรับตัวให้เข้ากับข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อที่จะได้สามารถดำเนินกิจกรรมของตนต่อไป
ความเสี่ยงของ DeFi 2.0 มีอะไรบ้าง และจะสามารถป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวได้อย่างไร?
เป็นที่น่าเสียดายที่เราจะต้องกล่าวว่า DeFi 2.0 เองก็ได้รับความเสี่ยงหลายประการที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของ DeFi 1.0 มา คุณจึงต้องตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าว และใช้มาตรการป้องกันที่เหมาะสม:
• สัญญาอัจฉริยะมีช่องโหว่ที่ทำให้สัญญาอัจฉริยะอาจจะถูกแฮกได้ แม้ว่าโปรเจ็กต์จะได้รับการตรวจประเมิน แต่ก็ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าโปรเจ็กต์ดังกล่าวจะปลอดภัย ในการลดความเสี่ยงดังกล่าว คุณจะต้องศึกษาข้อมูลโดยละเอียดก่อนที่จะลงทุนในโปรเจ็กต์ใด ๆ และจำเอาไว้ว่าการลงทุนทั้งหมดล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม
• การเปลี่ยนแปลงกฎหมายสามารถส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการลงทุน อย่างที่เรากล่าวเอาไว้ก่อนหน้านี้ หน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศให้ความสนใจกับการเงินแบบกระจายศูนย์มากขึ้น กฎหมายและข้อบังคับที่เกิดขึ้นใหม่สามารถบังคับให้แพลตฟอร์มจำนวนมากเปลี่ยนโครงสร้างหรือหยุดดำเนินการ คริปโตเคอร์เรนซีจะได้รับความสนใจมากขึ้นจากหน่วยงานกำกับดูแล และโปรเจ็กต์ DeFi 2.0 ก็ไม่ได้เป็นข้อยกเว้นเช่นกัน
• การสูญเสียเงินทุนชั่วคราวเป็นความเสี่ยงสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขุดเหมืองสภาพคล่องแม้ว่าจะมีการประกันก็ตาม เป็นที่น่าเสียดายที่เราไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงดังกล่าวได้ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญก็คือ เราจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่ากลยุทธ์การขุดเหมืองสภาพคล่องนั้นเหมาะสมกับลูกค้าหรือไม่
• การเข้าถึงการเงินอาจเป็นเรื่องยาก หากผู้ใช้เดิมพันโดยใช้เว็บไซต์แพลตฟอร์มแบบกระจายศูนย์ ผู้ใช้ยังคงจะต้องค้นหาสัญญาอัจฉริยะในบล็อกเชนในกรณีที่เว็บไซต์ล่ม อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนั้นจะต้องใช้ความรู้ทางเทคนิค ดังนั้นก่อนอื่นเลยเราจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกอย่างจะต้องได้รับการดำเนินการอย่างไรก่อนที่จะจัดการในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
บางทีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ เราอาจจะพบวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพสำหรับความเสี่ยงข้างต้นไม่ว่าจะเป็นการกำจัดหรือการลดความเสี่ยงดังกล่าวให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ในตอนนี้วิธีแก้ปัญหาที่ว่าก็น่าจะเป็น DeFi 3.0 หรือไม่ก็ DeFi 4.0
ข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของ DeFi 2.0 ในฐานะรูปแบบที่ปรับปรุงแล้วของการเงินแบบกระจายศูนย์
ข้อได้เปรียบของ DeFi 2.0 มีดังต่อไปนี้:
• มอบความปลอดภัยที่ดีขึ้นมากให้แก่โปรเจ็กต์ต่างๆ
• ช่วยในการจัดการแพลตฟอร์มบล็อกเชนใหม่ๆ
• ดึงดูดความสนใจเทรดเดอร์และนักลงทุนใหม่
• สร้างตลาดการประกันภัยสำหรับการเงินแบบกระจายศูนย์
โปรเจ็กต์ DeFi 2.0 ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด 5 อันดับแรก
DeFi มีมูลค่าตลาดที่ $45,511,664,391 แต่นั่นยังไม่ได้เป็นสถิติสูงสุดเพราะในตลาดกระทิงในเดือนพฤศจิกายน 2021 มูลค่าตลาดของโปรเจ็กต์คริปโตทั้งหมดในส่วนนี้นั้นสูงถึง $172 พันล้าน ผู้นำตลาดตัวจริงคือโปรเจ็กต์ Lido Finance เงินทุนมากกว่า $8.8 พันล้านได้ถูกถูกล็อกไว้ใน TVL (มูลค่าทั้งหมดที่ถูกล็อกไว้) ในขณะที่โปรเจ็กต์นี้คิดเป็น 74.85% ของตลาดการเงินแบบกระจายศูนย์ทั้งหมด
โปรเจ็กต์อันดับที่สองคือ Coinbase Wrapped StakedETH ซึ่งมีมูลค่าที่ถูกล็อกไว้มากกว่า $1.7 พันล้านและคิดเป็น 14.63% ของตลาดทั้งหมด อันดับสามคือ Rocket Pool ซึ่งมีมูลค่าที่ถูกล็อกไว้ $657.94 ล้านและมีส่วนแบ่งตลาดที่ 5.5% Frax Ether และ StakeWise มีส่วนแบ่งตลาดที่ 1.47% และ 1.12% ตามลำดับ แผนภาพด้านล่างแสดงให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นของส่วนแบ่งของโปรเจ็กต์ในตลาดทั้งหมด
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
DeFi 2.0 ปลอดภัยมากน้อยเพียงใด?
ความปลอดภัยเป็นข้อได้เปรียบหลักของการเงินแบบกระจายศูนย์รูปแบบใหม่ นับจากปี 2020 ตลาด DeFi ได้เติบโตเป็นอย่างมาก ความปลอดภัยจึงกลายมาเป้นคุณลักษณะที่สองสำหรับโปรเจ็กต์จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกัน เมื่อความนิยมของความสำเร็จแรกผ่านพ้นไปแล้ว ข้อได้เปรียบก็เริ่มปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน โปรเจ็กต์ใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมคริปโตจึงต้องคิดถึงความปลอดภัยเป็นเรื่องแรก ตามมาด้วยการให้บริการหรือการตลาดเพราะความปลอดภัยได้กลายมาเป็นมาตรฐานบังคับสำหรับ DeFi 2.0
เมื่อใดที่ DeFi 1.0 ได้เปลี่ยนไปเป็นช่วงของการพัฒนา DeFi 2.0 รูปแบบใหม่?
ในปัจจุบัน ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนสำหรับการเปลี่ยนจากการเงินแบบกระจายศูนย์รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งเพราะเรื่องแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วเวลาข้ามคืน โปรเจ็กต์แรกยังคงมีปัญหาสะสมเอาไว้ และวิธีการแก้ไขก็คือการสร้างรูปแบบ DeFi ที่สมบูรณ์ ในอดีต เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะสร้างเส้นแบ่งระหว่างทั้งสองช่วง ฤดูร้อนปี 2020 จนถึงสิ้นปี 2021 เป็นช่วงแรกของการพัฒนาการเงินแบบกระจายศูนย์ ช่วงนี้เต็มไปด้วยโปรเจ็กต์ใหม่จำนวนมาก DeFi ได้รับความนิยมและเติบโตเป็นอย่างมากบน Ethereum ในขณะที่มีปัญหาสะสมในเรื่องของความปลอดภัย การปรับขนาด ความเร็ว และต้นทุนที่สูงของการทำธุรกรรม ช่วงที่สองได้เริ่มต้นขึ้นอย่างมีเงื่อนไขนับจากปลายปี 2021 เป็นต้นมา คุณลักษณะเด่นของช่วงนี้คือการใช้บล็อกเชนที่หลากหลาย การลดลงของโปรเจ็กต์บนเครือข่าย Ethereum และการเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยและกระบวนการแบบเปิดกว้าง
###ทำไมเราถึงต้องการ DeFi 2.0?
การเงินแบบกระจายศูนย์ได้นำสิ่งต่างๆ จำนวนมากมาสู่อุตสาหกรรมคริปโต สิ่งสำคัญที่สุดคือการมีบทบาทสำคัญในการสร้างพาสซีฟอินคัมจากการลงทุนและการขยายความพร้อมของเงินทุนในภาคส่วนดิจิทัล ในช่วงเวลาที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่สามารถใช้บริการต่างๆ อย่างเครดิตและเงินฝากได้ อุตสาหกรรมก็ไม่สามารถไปต่อได้หากไม่มีบริการประเภทนี้ การพัฒนาในช่วงใหม่จึงทำให้บริการต่างๆ ดีขึ้น มีความซื่อสัตย์มากขึ้น และปลอดภัยมากขึ้นสำหรับลูกค้า
บริการใดบ้างที่อยู่ใน DeFi 2.0?
การเงินแบบกระจายศูนย์มีจุดมุ่งหมายและพยายามที่จะมอบบริการสูงสุดสำหรับการทำเงินทั้งแบบพาสซีฟและแอคทีฟ บริการหลักๆ ได้แก่ การแลกเปลี่ยน DEX การวางเดิมพันสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง การกู้เงิน อนุพันธ์ การรวบรวมผลตอบแทน Algo-Stables การกู้ NFT การทำฟาร์มแบบมีเลเวอเรจ เดิมพัน Options Vault ฯลฯ อย่างที่คุณเห็น บริการส่วนใหญ่จะเหมือนกับเครื่องมือทางการเงินแบบคลาสสิกของสกุลเงินเฟียต แต่จะช่วยให้คุณมีโอกาสในการสร้างรายได้พิเศษซึ่งสามารถทำได้ในคริปโตเคอร์เรนซีเท่านั้น
บทสรุป
ในการทำความเข้าใจเจเนอเรชันที่สองของการเงินแบบกระจายศูนย์ อย่างน้อยๆ เราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับบล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซี แต่เป็นที่พึงสังเกตก็คือภาคส่วน DeFi 2.0 อาจจะเหมาะกับเจ้าของสินทรัพย์คริปโตเคอร์เรนซีที่อยู่ในตลาดมาเป็นเวลานานมากกว่า อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของ DeFi 2.0 ก็คือการมอบโอกาสในการสร้างรายได้ที่มากขึ้น ทำให้การขายและการซื้อสินทรัพย์ง่ายขึ้น และการกำจัดอุปสรรคในการเข้าสู่อุตสาหกรรม ทั้งนี้ DeFi 2.0 มีความสำคัญเนื่องจากมีจุดมุ่งหมายในการทำให้ภาคการเงินมีความเป็นประชาธิปไตยในขณะที่ยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานความปลอดภัยและการมอบประโยชน์ให้แก่ผู้เข้าร่วมทั้งหมด การวิเคราะห์ DeFi 2.0 แสดงให้เห็นว่า นี่เป็นก้าวสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการเงินแบบกระจายศูนย์ทั้งหมด ในช่วงปี 2022 มีความสนใจในการเงินแบบกระจายศูนย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับภูมิหลังของการควบคุมการแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์ที่เพิ่มขึ้นโดย SEC และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ ในขณะเดียวกัน ภาคส่วน DeFi 2.0 เองก็ยังคงต้องกำจัดข้อบกพร่องของ DeFi 1.0 เพื่อที่จะได้สามารถดึงดูดเงินลงทุนและบริษัทต่างๆ ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม DeFi 2.0 ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความมีชีวิตชีวาและมูลค่าสำหรับตลาดคริปโตเคอร์เรนซี ดังนั้น เราจึงสามารถคาดหวังได้ถึงการเกิดขึ้นของแอปพลิเคชันและสตาร์ทอัพ DeFi 2.0 ที่น่าสนใจและมีศักยภาพในระยะสั้นถึงระยะกลาง DeFi 2 สามารถส่งผลกระทบต่อตลาดคริปโตเคอร์เรนซีทั้งหมดทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกได้อย่างไร? เราสามารถคาดการณ์ได้ว่า DeFi 2.0 จะช่วยให้ชุมชนคริปโตเคอร์เรนซีที่กำลังเติบโตมีความปลอดภัยและมีมูลค่ามากขึ้นภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว DeFi 2 คืออะไร? นี่เป็นช่วงที่น่าสนใจของการเปลี่ยนแปลงในตลาดคริปโตและบล็อกเชนทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นการตอบสนองต่อความท้าทายที่เกิดจากหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศชั้นนำและระบบราชการทางการเงินแบบคลาสสิกที่พยายามจะรักษาอิทธิพลของตนในเรื่องดังกล่าวเอาไว้