0% กระบวนการอ่าน
/ 10 อันดับคำแรกสำหรับช่วยมือใหม่ในการเทรดคริปโต

10 อันดับคำแรกสำหรับช่วยมือใหม่ในการเทรดคริปโต

เผยแพร่แล้ว 16 November 2022
เวลาของการอ่าน 6 นาที
Crypto trading: 10 terms

Description

ทรดเดอร์มือใหม่เรียนรู้ข้อมูลจำนวนมาก (ซึ่งมีทั้งดีและไม่ดี) จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐาน เราพยายามทำเรื่องนี้ให้ง่ายที่สุด และได้รวบรวมคำศัพท์และแนวคิดหลักของการเทรดเอาไว้ในบทความเดียว

ก้าวแรกสู่การเทรดของคุณเป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจก็จริง แต่ก็มักจะมาพร้อมกับความรู้สึกเสี่ยงและความกระวนกระวายใจเนื่องจากการขาดความรู้ที่จำเป็น เพื่อทำให้เรื่องนี้ง่ายขึ้นสำหรับทุกคนที่พร้อมจะก้าวสู่เส้นทางของการเทรดคริปโต เราจะมาดูคำศัพท์ที่คุณต้องใช้ในทุกวันกัน เทรดเดอร์มือใหม่เรียนรู้ข้อมูลจำนวนมาก (ซึ่งมีทั้งดีและไม่ดี) จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐาน เราพยายามทำเรื่องนี้ให้ง่ายที่สุด และได้รวบรวมคำศัพท์และแนวคิดหลักของการเทรดเอาไว้ในบทความเดียว

What are altcoins in cryptocurrency terms?

อัลท์คอยน์ (Altcoin)

มีเหรียญอยู่มากมายหลายประเภทในตลาดคริปโตเคอร์เรนซี และบิทคอยน์ (Bitcoin) ถือเป็นผู้นำตัวจริงในตลาด หลังจากที่อยู่มาอย่างยาวนาน (นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2009) คริปโตเคอร์เรนซีนี้ก็ได้รับความนิยมไปทั่วโลกไม่ว่าจะในด้านของคนรักและคนเกลียด ฯลฯ เอาเป็นว่า ทุกคนล้วนแล้วแต่เคยพูดถึงหรือเขียนถึง Bitcoin ก็แล้วกัน ทุกคนเคยได้ยินเกี่ยวกับคริปโตเคอร์เรนซีตัวนี้ ตั้งแต่แม่บ้านและพนักงานออฟฟิศไปจนถึงประธานาธิบดีของประเทศผู้นำและนักบินอวกาศ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า Bitcoin เป็นคริปโตเคอร์เรนซีหลักซึ่งเป็นที่โปรดปรานของตลาดคริปโต

เราเรียกเหรียญอื่นๆ ทั้งหมดในตลาดคริปโตว่าอัลท์คอยน์ ชื่อนี้มาจากคำว่า “เหรียญทางเลือก” (Alternative Coin) นั่นเองเนื่องจากเหรียญอื่นๆ ทั้งหมดถึงเป็นทางเลือกของ Bitcoin เมื่อดูจากประวัติความเป็นมาและคุณลักษณะของเหรียญ ตัวอย่างเช่น Litecoin และ Namecoin เป็นเหรียญทางเลือกแรกของ Bitcoin ตามมาด้วย Ethereum, Ripple และเหรียญอื่นๆ เช่นเดียวกับตลาดอื่นๆ ตลาดคริปโตเองก็ไม่ได้มีผลิตภัณฑ์เพียงแค่ตัวเดียวเช่นกัน ตลาดคริปโตเติบโตโดยมีโครงการใหม่ๆ จำนวนมากมาจนถึงปัจจุบัน

อัลท์คอยน์ไม่ได้เป็นเพียงแค่ทางเลือกอย่างเป็นทางการสำหรับผู้นำเท่านั้น แต่ในเชิงเทคนิคนั้น เหรียญดังกล่าวยังมีความแตกต่างกันอีกด้วย บางเหรียญมีคุณลักษณะที่ดีกว่า Bitcoin (เวลาของการทำธุรกรรมที่สั้นกว่า การรับประกันเรื่องการไม่เปิดเผยตัวตนที่มากกว่า) ด้วซ้ำไป แต่กลับมีมูลค่าน้อยกว่าในขณะที่เหรียญอื่นๆ จะเน้นเรื่องเทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป เช่น การใช้โปรโตคอลของตัวเอง และไม่ได้ใช้เพื่อเป็นสินทรัพย์ทางการเงินเท่านั้น ตัวอย่างเช่น Ethereum ซึ่งเป็นหนึ่งในอัลท์คอยน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของโลกได้กลายมาเป็นระบบที่พึ่งตนเองได้เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เป็นของตัวเอง ระบบ Ethereum มีกลไกที่สะดวกสำหรับการทำสัญญาอัจฉริยะ (ทำสัญญาเองเมื่อตรงตามเงื่อนไขที่ระบุโดยคู่สัญญา) ในปัจจุบัน การทำธุรกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการเทรดจำนวนมากมักจะใช้ Ethereum เป็นวิธีการชำระเงิน

กราฟแท่งเทียน (Candlestick)

กราฟแท่งเทียนเป็นองค์ประกอบหนึ่งของแผนภูมิการเคลื่อนไหวของราคาของคริปโตเคอร์เรนซี องค์ประกอบนี้ได้รับการตั้งชื่อตามเทียนจริงๆ ซึ่งมีทั้งแท่งเทียนและไส้เทียนที่สามารถมองเห็นได้

องค์ประกอบดังกล่าวเป็นชุดข้อมูลการเทรดสำหรับระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง เอาเป็นว่า คุณกำลังมองหาแผนภูมิที่แท่งเทียนแต่ละแท่งแสดงการเปลี่ยนแปลงของราคาภายใน 1 ชั่วโมง ปลายด้านบนของ “ไส้เทียน” คือมูลค่าราคาสูงสุดที่ขึ้นถึงระหว่างชั่วโมงดังกล่าวในขณะที่ปลายที่ต่ำกว่าคือมูลค่าราคาต่ำสุดส่วนตัวเทียนคือช่วงราคาภายในปริมาณการเทรดที่ขึ้นๆ ลงๆ ระหว่างชั่วโมงดังกล่าว นอกจากนี้ กราฟแท่งเทียนยังมีข้อมูลเกี่ยวกับราคาตั้งต้น (ราคาเปิดตามเงื่อนไข) และราคาสิ้นสุด (ราคาสุดท้าย) ภายในกรอบเวลาที่ระบุเช่นกัน

บันทึกคำสั่งซื้อขาย (Order Book)

ในอินเตอร์เฟสของตลาดหลักทรัพย์จะมีสิ่งหนึ่งซึ่งมีความโดดเด่นที่ประกอบไปด้วยสองกลุ่มข้อมูลของราคาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องสีแดงและสีเขียวซึ่งเรียกกันว่าบันทึกคำสั่งซื้อขาย

ทำไมต้องใช้ “บันทึกคำสั่งซื้อขาย” และราคาที่เป็น “สี” คืออะไร? เทรดเดอร์จะสร้างคำสั่งสองกลุ่ม (Bids) ตามราคาที่เฉพาะเจาะจงเมื่อสร้างคำสั่งซื้อและขายคริปโต ทั้งสองกลุ่มมักจะได้รับการอ้างถึงเป็น: Ask (คำสั่งขาย) และ Bid (คำสั่งซื้อ) โดยที่ราคาขายมักจะได้รับการแสดงเป็นสีแดงส่วนราคาซื้อจะได้รับการแสดงด้วยสีเขียว

ถือเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่กลุ่มข้อมูลของคำสั่งซึ่งมีราคาขายต่างๆ จะเรียกว่าเป็น Supply Array ในขณะที่ Buy Array คือ Demand Array ในการสร้างปริมาณคำสั่งในการซื้อและขายคริปโตใดก็ตาม เทรดเดอร์จะต้องสร้างสภาพคล่อง (คุณสมบัติของสินทรัพย์ที่จะขายอย่างรวดเร็วในราคาที่ใกล้เคียงกับราคาตลาด) ดังนั้น บันทึกคำสั่งซื้อขายจึงเป็นรายการคำสั่งนั่นเอง

คำสั่ง (Order)

คุณจำเป็นต้องมีเครื่องมือพิเศษในการเทรดสินทรัพย์ การแลกเปลี่ยนใดก็ตามรวมถึงการแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซีจะมอบโอกาสดังกล่าวให้แก่ลูกค้าผ่านกลไกคำสั่งต่างๆ ทั้งนี้ คำสั่งคือคำขอของเทรดเดอร์ในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ (คริปโต)

เมื่ออยู่ในหัวข้อ “เทรด” คุณสามารถซื้อสินทรัพย์ได้โดยการคลิกที่ปุ่ม “ซื้อ” หรือขายสินทรัพย์โดยการคลิกที่ปุ่ม “ขาย” อย่างไรก็ตาม ก่อนที่คุณจะคลิกที่ปุ่มดังกล่าว คุณจะต้องกรอกข้อมูลลงในบางช่องของคำสั่งเสียก่อน

ตัวอย่างเช่นการใช้คำสั่งขาย เรามาดูกันที่บางฟีเจอร์ของประเภทของคำสั่งหลักกัน การกรอกข้อมูลลงในช่องของคำสั่งจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าคุณเลือกประเภทคำสั่งเป็น “Market” หรือ “Limit” คำสั่ง Market จะเกี่ยวข้องกับการกรอกช่องของจำนวนที่คุณต้องการจะซื้อคริปโตเคอร์เรนซีในทันทีในราคาตลาดในปัจจุบัน ในขณะที่คำสั่ง Limit จะเกี่ยวข้องกับการกรอกช่องของราคาจำกัด (สามารถทำได้ในอนาคต แตกต่างไปจากราคาตลาด และทำกำไรได้มากกว่าจากมุมมองของคุณ) และช่องของจำนวนที่ต้องการ ทั้งนี้ คุณจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเดียวกันนี้เมื่อวางคำสั่งขาย

พึงจำไว้ว่า ในการคลิก “ซื้อ” หรือ “ขาย” คุณจะต้องสรุปการแล้วเสร็จ (Completion) ของคำสั่ง และกำหนดการแลกเปลี่ยนเพื่อทำการเทรดตามระยะเวลาที่คุณระบุ

Crypto trading: 10 terms

จุดทำกำไรและจุดหยุดการขาดทุน (Take-profit and Stop-Loss)

การเทรดที่ประสบความสำเร็จคือการเทรดที่คำนึงถึงความเสี่ยง ความเสี่ยงที่หนักหนาสาหัสที่สุดของการเทรดคริปโตเคอร์เรนซีมักมาจากความผันผวนสูง (ความผันผวนของราคาระยะสั้น)

จุดหยุดการขาดทุนและจุดทำกำไรเป็นเครื่องมือการแลกเปลี่ยนสุดพิเศษซึ่งจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถใช้กลยุทธ์การเทรดของตัวเองได้เมื่อใช้เครื่องมือดังกล่าวอย่างถูกต้อง เครื่องมือนี้เป็นคำสั่งสำหรับโบรคเกอร์ในการทำการเทรดตามเกณฑ์ที่ระบุ อย่างที่เห็นจากชื่อของเครื่องมือ เราสามารถเข้าใจได้ง่ายว่า จุดหยุดการขาดทุนคือคำสั่งในการ “หยุดการขาดทุน” ในขณะที่จุดทำกำไรคือคำสั่งในการ “ทำกำไร”เพื่อให้เข้าใจกลไกของจุดหยุดการขาดทุนได้ดีขึ้น เราจะมาดูที่ตัวอย่างเชิงสมมติฐานต่อไปนี้: ลองจินตนาการว่าคุณเป็นเจ้าของสินทรัพย์ของคริปโตเคอร์เรนซี N ที่ราคาเหรียญละ 100 USDT คุณอยากจะทำกำไรจากการเติบโตของมูลค่าดังกล่าว เมื่อคุณวางคำสั่งขาย คุณทราบดีว่าตลาดมีความผันผวน ในขณะที่ราคาสามารถขึ้นและลงได้ หลังจากวิเคราะห์แนวโน้มแล้ว คุณตัดสินใจว่าจะวางคำสั่งทำกำไรที่ 130 USDT และคำสั่งหยุดการขาดทุนที่ 90 USDT ดังนั้น เมื่อราคาขยับขึ้นและผ่านจุด 130 USDT คำสั่งของคุณจะปิดโดยที่คุณจะได้กำไร 30 USDT แต่เมื่อราคาของตลาดตกลงมาที่ 90 USDT คำสั่งของคุณจะปิดโดยที่คุณจะขาดทุน 10 USDT เป็นต้น

อัตราส่วนที่นิยมใช้มากที่สุดสำหรับการขาดทุนที่น่าจะเป็นและช่วงการทำกำไรของเทรดเดอร์คือ 1:3 สำหรับตำแหน่งระยะยาว 1:2 สำหรับระยะกลาง 1:1 สำหรับการเทรดในสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอน (มักใช้กับตำแหน่งระยะสั้นเมื่อตลาดอยู่ในช่วงที่สามารถคาดการได้) 2:1 สำหรับเทคนิคการเทรดระยะสั้น (ตำแหน่งระยะสั้นในการเทรดช่วงกลางวัน) ในตัวอย่างของเรา เราได้ใช้อัตราส่วน 1:3 (10 และ 30 USDT ตามลำดับ)

คำสั่งขายและคำสั่งซื้อ (Short and Long Positions)

คำดังกล่าวได้รับการใช้งานอย่างกว้างขวางในตลาดหุ้นของอเมริกาและการแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ที่มาของคำดังกล่าวสามารถย้อนกลับไปได้ถึงสมัยกลางของยุโรปที่มีการใช้แผ่นไม้ฮาเซลมาบันทึกหนี้สินโดยที่ผู้คนจะทำรอยตัดบนแผ่นไม้ดังกล่าวเพื่อแสดงจำนวนและปริมาณของสินค้าที่ซื้อขาย แผ่นไม้ดังกล่าวจะได้รับการแบ่งตามความยาว และได้รับการส่งมอบให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมซื้อขาย ชิ้นส่วนของแผ่นไม้จะมีความยาวที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ อันหนึ่งสั้นและอันหนึ่งยาว เพื่อบอกถึงการทำธุรกรรมการค้านั้นๆ เนื่องจากไม้ฮาเซลมีเนื้อสัมผัสพิเศษ คนสมัยนั้นจึงเชื่อกันว่า จะไม่มีใครสามารถปลอมแปลงไม้ดังกล่าวได้

ดังนั้นคำว่า สั้น (Short) และยาว (Long) จึงเป็นชื่อสำหรับสถานะการซื้อขายและกลยุทธ์ที่เทรดเดอร์ใช้กัน

คำสั่งขาย (Short Positions): นี่เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกการขาย วัตถุประสงค์หลักคือการทำเงินจากราคาที่ตกลง สำหรับกลยุทธ์นี้ เทรดเดอร์จะยืมเงินจำนวนหนึ่งจากคริปโตเคอร์เรนซีและขายออกไปที่ราคาตลาดในปัจจุบัน จากนั้น เทรดเดอร์จะรอให้ราคาของสินทรัพย์ตกลงไป ซื้อคริปโตเคอร์เรนซีที่จำเป็นจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ย และเก็บส่วนต่างเอาไว้

คำสั่งซื้อ (Long Positions): หลักการทำกำไรนั้นง่ายกว่ากลยุทธ์ของคำสั่งขาย เทรดเดอร์จะซื้อสินทรัพย์ และรอให้ราคาสูงขึ้นเพื่อที่จะทำกำไร

What is margin in cryptotrading

มาร์จิ้น (Margin)

มาร์จิ้นเป็นคำศัพท์ติดหูที่ฟังดูเฉียบคม แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถ “ทำได้ตาม” วัตถุประสงค์เช่นกัน

ตลาดหุ้นหลายแห่งมักยอมให้ลูกค้าทำการเทรดโดยใช้เงินทุนที่ยืมมา โดยปกตินั้น แทบจะไม่มีคนใจบุญสุนทานและคนที่เห็นแก่ผู้อื่นในการเทรดคริปโตในขณะที่สถาบันการเงินล้วนแล้วแต่อยู่ได้เพราะกำไร ด้วยเหตุนี้ เมื่อให้เงินทุนที่ยืมมา ตลาดหุ้นจึงต้องการสิ่งที่จะรับประกันการขาดทุนหากเทรดเดอร์ไม่ประสบความสำหรับในการเทรด สิ่งที่จะรับประกันดังกล่าวได้แก่เงินฝากซึ่งชำระโดยลูกค้าเพื่อเข้าร่วมในการเทรดมาร์จิ้นนั่นเอง คำว่า “มาร์จิ้น” มีความเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับแนวคิดของเลเวอเรจ (Leverage) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำหรับการเลเวอเรจ สำหรับสินทรัพย์บางอย่างนั้น อัตราส่วนอาจเท่ากับ 2:1 และสำหรับสินทรัพย์อื่นๆ อัตราส่วนอาจสูงถึง 100:1 ในอัตราส่วนดังกล่าวนั้น “1” จะเท่ากับจำนวนของเงินฝาก (มาร์จิ้น) ในขณะที่เลเวอเรจจะเท่ากับ 2 และ 100

ดังนั้น การเทรดมาร์จิ้นในการซื้อคริปโตเคอร์เรนซีและการใช้เงิน $10 โดยใช้เลเวอเรจที่ 100:1 คุณจะสามารถซื้อสินทรัพย์ได้ในราคา $1000 เห็นได้ชัดว่า การขายต่อคริปโตเคอร์เรนซีที่ราคา $1000 จะทำให้คุณทำกำไรได้ถึง 100 เท่าเมื่อเทียบกับการเทรดที่ $10 แต่คุณต้องไม่ลืมเรื่องความเสี่ยง หากราคาลดลงเป็นอย่างมาก คุณอาจต้องสูญเสียเงินฝากทั้งหมดไป ตลาดแลกเปลี่ยนจะปิดคำสั่งของคุณ และจะใช้มาร์จิ้นเพื่อให้ครอบคลุมการขาดทุนของโบรคเกอร์ที่ให้ยืมเงินเพื่อปกป้องเงินทุนของคุณในกรณีการเคลื่อนไหวในเชิงลบอย่างรุนแรง

แนวโน้ม (Trend)

คำนี้เป็นคำที่ได้ยินบ่อยมากๆ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในการเทรดคริปโตรวมถึงในการเทรดอื่นๆ นั้น สิ่งที่คุณจะต้องทำก็คือ การระบุคุณลักษณะของแนวโน้ม อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นการคิดเองเออเองหรือการคาดเดา แต่เป็นความสามารถที่มองเห็นได้และเข้าใจได้ของตลาดในการกำหนดแนวโน้มต่างๆ เมื่อคุณศึกษาแผนภูมิราคาของสินทรัพย์ คุณจะต้องสังเกตและกำหนดเค้าโครงของสิ่งที่คล้ายคลึงกันของความเคลื่อนไหวของราคาอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการกำหนดนิยามของคำว่าแนวโน้มขาขึ้น (Uptrends) แนวโน้มขาลง (Downtrends) และแนวโน้มด้านข้าง (Sideways Trends) ทั้งนี้เป็นที่ชัดเจนว่า ราคามีแนวโน้มจะสูงขึ้น ตกลง และมีความผันผวนของราคาปานกลางในบางกรอบเวลาภายในพิสัยที่คาดการ

ตัวอย่างเช่น ตามการวิเคราะห์แนวโน้มนั้น ผู้ติดตามทฤษฏีคลื่นของการเคลื่อนไหวของราคาจะระบุ 3 ถึง 5 คลื่นในแนวโน้ม และทำการเทรดภายในคลื่นดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดซึ่งเทรดตามแนวโน้มขาขึ้นและแนวโน้มขาลงมีอยู่สองทีมหลัก: เราเรียกเทรดเดอร์ที่ทำเงินจากราคาที่ตกลงว่าหมี (Bears) และเรียกผู้ที่ทำเงินจากราคาที่สูงขึ้นว่ากระทิง (Bulls)

Corrections in trading

การปรับฐาน (Correction)

เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักเริ่มต้นศึกษาตลาดอย่างลึกซึ้งมากขึ้น และค่อยๆ เรียนรู้ลักษณะต่างๆ ของการวิเคราะห์ทางเทคนิค ในขณะเดียวกัน คุณก็จะเริ่มต้นสังเกตถึงคำว่า “การปรับฐาน” จากข้อมุลที่คุณได้ศึกษาเช่นกัน

คำนี้เป็นคำที่เต็มไปด้วยตรรกะและสามารถอธิบายความหมายในตัวเองได้เป็นอย่างดี การปรับฐานคือแนวโน้มของแผนภูมิราคาที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามของแนวโน้ม ทั้งนี้ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า การปรับฐานคือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงหลักการความสมดุลของตลาด หรืออาจกล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ตลาดจะปรับราคาเมื่อสินทรัพย์ถูกขายมากเกินไปหรือถูกซื้อมากเกินไปนั่นเอง

แนวรับและแนวต้าน (Support and Resistance Level)

เมื่อทำการเทรดหลังจากที่ทำการวิเคราะห์ทางเทคนิคแล้ว เทรดเดอร์มักจะใช้การเปรียบเทียบ (Benchmarks) ซึ่งเป็นขอบเขตของพิสัยราคาประเภทหนึ่ง ขอบเขตดังกล่าวได้แก่แนวรับและแนวต้าน

แนวรับคือระดับที่ดูเหมือนจะเด้งกลับและย้อนกลับขึ้นไปเมื่อดูจากแผนภูมิสูงสุด-ต่ำสุด แนวต้านคือระดับที่ดูจากแผนภูมิต่ำสุด-สูงสุดในขณะที่ราคาจะย้อนกลับและตกลง ในการตรวจหาแนวรับและแนวต้านรวมถึงพิสัยราคาสำหรับการเทรด คุณจำเป็นต้องดูที่แผนภูมิภูมิราคาของสินทรัพย์ สมมติว่าคุณมองดูการเคลื่อนไหวของราคาของสินทรัพย์มานานกว่าหนึ่งเดือน และเห็นจุดสูงสุดของราคาหลายครั้งซึ่งมีลักษณะย้อนกลับลง การลากเส้นผ่านจุดสูงสุดดังกล่าวจะทำให้คุณได้แนวต้านราวกับว่ามีการจำกัดราคาจนทำให้ไม่สามารถก้าวข้ามและขึ้นสูงได้ บ่อยครั้งที่การยืนยันการจำกัดราคาดังกล่าวมักจะเป็นคำสั่งขายสินทรัพย์จำนวนมากที่อยู่ในบันทึกคำสั่งซื้อขาย ผู้ที่เทรดคริปโตมักจะใช้ตัวแสดงสถานะระดับเสริมนี้ในการรองรับการวิเคราะห์ของตน ในทำนองเดียวกัน คุณสามารถตรวจหาแนวรับได้โดยการวาดเส้นผ่านจุดต่ำสุดของราคาในแผนภูมิในระยะเวลาที่ต้องการ ทั้งนี้ การยืนยันระดับที่ตรวจหาได้มักจะเป็นคำสั่งซื้อสินทรัพย์จำนวนมากที่อยู่ในบันทึกคำสั่งซื้อขายซึ่งเป็นราคาเดียวกันหรือราคาใกล้เคียง

หากมีการทะลุแนวตามมาด้วยการยืนยันแนวโน้มการทะลุ ในกรณีส่วนใหญ่นั้น เรื่องดังกล่าวถือเป็นสัญญาณของการเคลื่อนไหวของราคาที่อยู่นอกแนว ในสถานการณ์เช่นนั้น เทรดเดอร์จะต้องคำนึงถึงการเคลื่อนไหวของราคาใหม่ ตัวอย่างเช่น การทะลุแนวต้านและราคาซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น และเป็นสิ่งที่บอกว่าแนวต้านเดิมได้กลายมาเป็นแนวรับใหม่ และตลาดจะเติบโตต่อไป

title
advantage-1
advantage-2
advantage-3

Rate article

Thank you for your rating, your vote has been counted

©Exex
EXEX GLOBAL TRADE, UAB, Registration code 306368695
Vilnius, Žalgirio g. 88-101, Lithuania